INFORMATION: |
อบรมเสริมคนให้ครบ
|
ประสบธรรมอันสูงส่ง | |
ปัญญาแตกฉานที่มั่นคง | เสริมส่งให้คนเป็นคนจนสมบูรณ์ |
อาคารเรียนที่เริ่มเปิดโรงเรียน ขณะนี้เป็นอาคารเรียน ชั้นประถม
ในวันที่ 6 เมษายน 2475 คณะซิสเตอร์ผู้บุกเบิก 5 ท่านพร้อมกับครูอีก 2 ท่าน ได้แก่
ทั้งหมดได้ออกจากโรงเรียนมาแตร์เดอี ไปจังหวัดเชียงใหม่ โดยทางรถไฟ คณะเดินทางถึงจังหวัด เชียงใหม่เมื่อค่ำ วันที่ 7 เมษายน 2475
ในระหว่างปี พ.ศ. 2484 - 2488 ( ค.ศ. 1941- 1945 ) ได้เกิดสงครามมหาบูรพา หรือสงครามโลกครั้งที่ 2 ในช่วงต้น ของสงครามโลก โรงเรียนยังเปิดทำการสอนอยู่ แต่เมื่อสงครามรุกรานมากขึ้นมีภัยทางอากาศถึงจังหวัดเชียงใหม่ ทางการ ให้ปิดโรงเรียนและใช้สถานที่ของโรงเรียน เป็นโรงพยาบาลทหารไทย เปิดช่วยเหลือผู้ที่ไดัรับบาดเจ็บในยามสงคราม โรงเรียนได้ถูกดัดแปลงให้เป็นโรงพยาบาลชั่วคราวนาน 1 ปี 6 เดือน เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุดิ โรงเรียนจึงเปิดทำการ สอนเช่นเดิม นักเรียนที่อพยพหลบภัยช่วงภัยสงครามได้กลับเข้ามาเรียน และมีนักเรียนสมัครเข้าเรียนเพิ่มขึ้นอีกจำนวนมาก จนห้องเรียนที่มีอยู่เดิมไม่เพียงพอจึงได้ดัดแปลงห้องต่าง ๆ ใช้เป็นห้องเรียนเพื่อใช้ทำการสอนนักเรียนทั้งหมดที่มากกว่า ห้าร้อยคน
ในปี พ.ศ. 2499 กระทรวงศึกษาธิการได้รับรองวิทยฐานะของโรงเรียนเทียบเท่าโรงเรียนรัฐบาล และ ในปี พ.ศ. 2489 - 2494 ชื่อเสียงของโรงเรียนได้แผ่ขยายกว้างไปในภาคเหนือ ผู้ปกครองได้ส่งบุตรหลานเข้ารับการศึกษาเพิ่มขึ้น ทางโรงเรียนจึงขยายอาคารเรียนเพิ่มขึ้น
1. ซิสเตอร์ มารี เบอร์นาร์ด มังเซล |
2. ซิสเตอร์ มารี เดอลุร์ด ไซมอนซ์ |
3. ซิสเตอร์ มารี โกลทิล แมคเคน |
4. ซิสเตอร์ มารี แบร์นาแด็ท ฟาร์เยร์ |
5. ซิสเตอร์ มารี ยัน แทร์ฟ |
6. ครูมาร์กาเร็ต |
7. ครูมาร์ติน |
วันที่ 16 พฤษภาคม 2475 กระทรวงศึกษาธิการได้อนุมัติให้เปิดการสอน โดยโรงเรียนได้นามว่า เรยีนาเชลีวิทยาลัย วันแรกที่เปิด การสอน มีครู 13 คน นักเรียน 95 คน เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงชั้นมัธยมปีที่ 7 และในปีพุทธศักราช 2476 ได้รับอนุญาตให้เปิดสอนถึงชั้นมัธยมปีที่ 8
ในปี พ.ศ. 2495 - 2504 โรงเรียนมีที่นาประมาณ 13 ไร่เศษ แต่บริเวณโรงเรียนและที่นา มีที่ดินของ กรมป่าไม้คั่นอยู่ จึงทำให้ไม่สามารถขยายบริเวณโรงเรียนได้ โรงเรียนจึงเจรจาขอแลกที่นาของโรงเรียนกับ ที่ดินของกรมป่าไม้ กระทรวงศึกษาธิการเห็นความจำเป็นของการขยายเพื่อประโยชน์ต่อการศึกษา จึงสนับสนุน และดำเนินการเจรจาแลกเปลี่ยนโดยใช้เวลา 3 ปี ในการดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ จนได้รับการอนุมัติจาก กระทรวงการคลังให้ทำการแลกเปลี่ยนได้ โรงเรียนจึงมีพื้นที่ทั้งหมด 33 ไร่ 1 งาน 84 ตารางวา และได้ ก่อสร้างอาคารใหม่ต่อเชื่อมอาคารเรียนกับที่พักซิสเตอร์เมื่อกลางปี 2499 เสร็จสิ้น ปี 2500
ในปี พ.ศ. 2424 โรงเรียนได้แบ่งขายที่ดินให้กับสมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์ จำนวน 4 ไร่ ขณะนี้โรงเรียนจึงมี เนื้อที่เหลือ 29 ไร่ 1 งาน 84 ตารางวา
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาคณะซิสเตอร์และครูผู้บริหารได้ทุ่มเทชีวิตและจิตใจในอันที่จะพยายามเสริมสร้าง ความก้าวหน้า ให้กับโรงเรียนโดยมิหยุดยั้ง ได้มีการปรับปรุงอาคารสถานที่ให้สะอาด ร่มรื่น สวยงาม ทันสมัย อยู่เสมอ ทั้งนี้เพราะตระหนัก ในความเชื่อมั่นของบรรดาผู้ปกครองที่ตั้งใจมอบบุตรหลานอันเป็นที่รักของตน ให้มาอยู่ในความดูแล โดยโรงเรียนมุ่งเน้นระเบียบ วินัย และอบรมคุณธรรมของนักเรียนและ ให้การศึกษา แผนใหม่ที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน อีกทั้งมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและนำเทคโนโลยีมาใช้ ในการเรียนการสอน เพื่อให้ทัน ต่อเหตุการณ์และการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังอบรมให้นักเรียนมีความซื่อสัตย์ ยุติธรรม มีความรับผิดชอบ มีระเบียบวินัยและเน้นเรื่องจรรยามารยาท การบำเพ็ญประโยชน์ต่อส่วนรวมเพื่อฝึกให้นักเรียนรู้จัก รับใช้สังคม และมีจิตสำนึกถึงผู้อื่นที่ต้องการ ความช่วยเหลือด้วยความเสียสละ และยึดมั่นในอุดมการณ์ของ SERVIAM